นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศ
ความหมายของนวัตกรรมและนวัตกรรมการศึกษา
เมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน
เป็น นวตกรรม หรือนวกรรม จึงหมายถึงการกระทำ ใหม่ ๆ ซึ่งในที่นี้มีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของคำนี้ไว้ดังนี้
ทอมัส
ฮิวช์ (Thomasl
Hughes, 1971 อ้างถึงใน
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2521 :
13) ได้ให้ความหมายของ คำว่า นวกรรมว่า “เป็นการนำวิธีการใหม่
ๆมาปฏิบัติ หลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว
โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention)
พัฒนาการ (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน
(Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง
ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา และเรียกว่า นวกรรม (Innovation)”
มอตัน (Morton, J.A. อ้างถึงใน ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2521 : 13) ได้ให้นิยามของนวกรรมไว้ในหนังสือ
Organising for Innovation ของเขาว่านวกรรม หมายถึงการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal) ซึ่งหมายถึงการปรับปรุงของเก่าและการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
ตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ นวกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมาดไป
แต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่ง และพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ
ไมล์
แมทธิว (Miles Matthew B.
อ้างถึงใน ไชยยศ
เรืองสุวรรณ. 2521 : 14) ได้กล่าว
ถึง
นวกรรมไว้ในเรื่อง Innovation in Education ว่า “นวกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงแนวคิดอย่างถ้วนถี่
การเปลี่ยนแปลงให้ใหม่ขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เป้าหมายของระบบบรรลุผล”
ไชยยศ
เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้กล่าวไว้ว่า นวกรรม หมายถึงวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิม
โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ขึ้นมา
หรือการปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเล่านี้ได้รับการทดลอง
พัฒนามาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ
ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
วสันต์
อติศัพท์ (2523 : 15) กล่าวไว้ว่า นวกรรม
เป็นคำสมาสระหว่าง “นว” และ “กรรม” ซึ่งมีความหมายว่า
ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เช่น
นวกรรมทางการแพทย์ หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลง ปรับ
ปรุง
ตลอดจนแก้ปัญหาทางการแพทย์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน นวกรรมการศึกษาก็หมายถึง
ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ
ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษา
กิดานันท์
มลิทอง (2540 : 245) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมเป็นแนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ
ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
จรูญ
วงศ์สายัณห์ (2520
: 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ “นวัตกรรม” ไว้ว่า “แม้ในภาษาอังกฤษเอง
ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง
ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่
มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ
เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม
ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี
และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง
สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป
จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ (บุญเกื้อ ควรหาเวช ,
2543)
สรุป นวัตกรรมหมายถึง
ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ
ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมให้ดีขึ้นและเมื่อนำมาใช้งานก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษาเราก็เรียกว่านวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา
ประเภทตามเนื้องาน
1.
นวัตกรรมด้านระบบการศึกษา เช่น การศึกษารายบุคคล ระบบการสอนทางไกล
การสอนระบบเปิด การศึกษานอกระบบโรงเรียน
2. นวัตกรรมด้านหลักสูตรเช่นหลักสูตรแบบบูรณาการ
หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่
3.
นวัต กรรมด้านการเรียนการสอน เช่น การสอนเป็นคณะ ชุดการสอน
บทเรียนโปรแกรม ศูนย์การเรียน การเรียนด้วยตนเอง การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การสอนแบบ
คอนสทรัคทิวิสซึ่ม การสอนแบบคอล์แลปบอราทอรี่ (ร่วมมือกัน) 4. นวัตกรรมด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีทางการศึกษา เช่น สไลด์ วีดิทัศน์
วิทยุ โทรทัศน์
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
หรือ อินเทอร์เน็ต
(Web-based Instruction)หรือ 5. นวัตกรรมด้านการประเมินผล
เช่น การวัดผลแบบอิงกลุ่ม อิงเกณฑ์ การวัดผล
ก่อนเรียน การวัดผลหลังเรียน การวิเคราะห์ ข้อสอบ
6. นวัตกรรมด้านการบริหารการศึกษา
การใช้ทฤษฎีบริหารจัดการ การใช้คอมพิวเตอร์จัดเก็บข้อมูล ฯลฯ
กระบวนของการพัฒนานวัตกรรม
นวัต กรรมการเรียนการสอน โดยทั่วไปมักเกิดจากความต้องการในการแก้ปัญหาปรับปรุงการเรียนการสอนของครู
ดังนั้นจุดเริ่มต้นของกระบวนการพัฒนานวัตกรรม จึงอยู่ที่การศึกษาสภาพปัญหา การคิดค้นหรืออกแบบนวัตกรรมให้สอดคล้องกับปัญหา
การสร้างหรือพัฒนานวัตกกรมให้สมบูรณ์ตามแนวหรือกรอบของแบบนวัตกรรมที่กำหนด การทดลองวิจัยและพัฒนาเพื่อให้นวัตกรรมมีประสิทธิภาพสูงสุด
การเผยแพร่ไปสู่ประชากรเป้าหมายเพื่อให้เกิดการยอมรับและนำไปปฏิบัติอย่าง แพร่หลายและกว้างขวาง
นวัตกรรมการเรียนรู้.....สารพัดวิธีสอน
การเรียนรู้ภายใต้กระบวนการฝึกทักษะจะสร้างมุมมองที่เป็นองค์รวม
(holistic view) คือมองเห็นงาน เห็นปัญหา เห็นชีวิต
ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน มองว่าปัญหาเป็นส่วนหนึ่งของงาน
และมองเห็นงานเป็นกระบวนการที่สำคัญของชีวิต การศึกษาในปัจจุบันไม่ได้จำกัดแต่ในห้องเรียนแล้วเท่านั้น
หากแต่สามารถจัดการศึกษาได้โดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียน
ทุกสถานที่
หรือทุกเวลาที่ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ได้ตลอดเวลาและตลอดชีวิต
“นวัตกรรม” มีความเกี่ยวข้องกับการศึกษาที่จะเพิ่มประสิทธิภาพหรือคุณภาพการเรียนการสอนได้มากยิ่งขึ้น
ซึ่งนวัตกรรม ตรงกับคำว่า “innovation” ในภาษาอังกฤษมีรากศัพท์มาจากคำภาษาลาตินว่า
innovare ซึ่งแปลว่า “to renew” หรือ “ทำขึ้นมาใหม่” หมายถึง การทำอะไรใหม่ๆ แนวคิดใหม่ๆ
วิธีการใหม่ๆ มาปรับปรุง
เพิ่มประสิทธิภาพของงานหรือของสิ่งที่ได้กระทำให้ดียิ่งขึ้น
คนทั่วไปมักจะเข้าใจผิดคิดว่านวัตกรรมเป็นคำที่เกี่ยวข้องเฉพาะสิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้นแต่วงการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สมเด็จพระเทรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ได้ทรงอธิบายไว้ในการแสดงปาฐกถาเรื่อง “เทคโนโลยี นวัตกรรม
กับการพัฒนาประเทศ” ในการประชุมประจำปีของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(สวทช.) เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2542 มีใจความตอนหนึ่งว่า
“... คนเรานั้นจะต้องมี นวัตกรรม คือต้อง innovative หรือต้องรู้จักสร้างสรรค์ ต้องมีความพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า ปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก แต่ว่าก็ต้องสามารถปรับโลกให้เหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นอยู่หรือความพอใจความสุขสบายของตัวเองเหมือนกัน ต้องแก้ปัญหาด้วยความคิด พอทางหนึ่งตันก็ต้องหาทางใหม่ ไม่งอมืองอเท้ายิ่งใน ภาวะวิกฤต ยิ่งต้องการนวัตกรรม ซึ่งไม่เฉพาะแต่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเท่านั้น หากแต่เป็นนวัตกรรมของทั้งระบบโดยรวม ตั้งแต่สังคม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรม...”
(การสัมมนาวิชาการเรื่อง
“นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข” วันพุธที่
28 เมษายน 2547 ณ โรงแรม หลุยส์
แทเวิร์น กรุงเทพฯ)
เมื่อหลากหลายสถานบันหรือบุคลากรทางการศึกษาได้นำเอานวัตกรรมเข้ามาผนวกกับการศึกษาช่วยในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ที่เรียกว่า "นวัตกรรมการศึกษา" ให้เข้ามามีบทบาทในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำเอาแนวคิด วิธีการการเกี่ยวข้องกับการศึกษา เพื่อพัฒนา ปรับปรุง มาเพิ่มประสิทธิภาพให้การศึกษา ให้มีระบบที่ดียิ่งขึ้น มีคุณภาพ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผลสูงขึ้น อันได้แก่ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่คิดขึ้นมาใหม่ทั้งหมด สิ่งที่คิดเพิ่มเติมจากเดิม หรือสิ่งที่เคยนำมาใช้แล้วและปรับปรุงให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น การนำวิธีการใหม่ๆ ที่ดีกว่ามาปรับปรุงแก้ไขวิธีการเดิมๆ การคิดค้นระบบหรือการจัดการวิธีการ การวิจัยหรืออื่นๆ แล้วนำมาเผยแพร่กว้างขวางยิ่งขึ้น เช่น คอมพิวเตอร์มัลติมิเดีย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนแบบโปรแกรม ชุดการสอน เป็นต้น
ทั้งนี้ การจัดการเรียนการสอนที่ดีนั้น
นอกจากจะมีนวัตกรรมการสอนที่ดีทันสมัย มาใช้กับผู้เรียนให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
นอกเหนือจากนวัตกรรมมาที่เป็นอุปกรณ์ช่วยสอนหรือวิธีการสอนเท่าแล้วนั้น
ยังต้องมีสิ่งสำคัญเกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการเรียนการสอน ประกอบด้วย ครูผู้สอน หลักสูตรหรือเนื้อหา ผู้เรียน สื่อ/อุปกรณ์ และทักษะกระบวนการต่างๆ ทั้งหมดล้วนก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ต่อผู้เรียนได้ตลอดเวลา
และตลอดชีวิต
นวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ
1. เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
2. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมา
4. เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง
5. การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมา
4. เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง
5. การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สาเหตุการเกิดขึ้นของนวัตกรรมการศึกษา
1.
การเพิ่มปริมาณของผู้เรียน 2. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว 3. การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น 4. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีโทรคมนาคม
ขอบข่ายนวัตกรรมทางการศึกษา
1.
การจัดการเรื่องการสอนด้วยวิธีการใหม่ๆ 2. เทคนิควิธีการสอนแบบต่าง ๆ ที่ไม่เคยมีการทำมาก่อน 3. การพัฒนาสื่อใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน 4.
การใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาปรับใช้ในระบบการเรียนการสอนในระบบทางไกลและการเรียนด้วยตัวเอง
5. วิธีการในการออกแบบหลักสูตรใหม่ๆ 6. การจัดการด้านการวัดผลแบบใหม่
ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
1.
นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เช่น หลักสูตรบูรณาการ หลักสูตรรายบุคคล
หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ หลักสูตรท้องถิ่น 2. นวัตกรรมการเรียนการสอน เช่น การสอนแบบศูนย์การเรียน การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์
การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต 3. นวัตกรรมสื่อการสอน เช่น CAI WBI WBT
VC WebQuest Webblog 4. นวัตกรรมการประเมินผล เช่น การพัฒนาคลังข้อสอบ
การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต การใช้บัตรสมาร์ทการ์ด
เพื่อการใช้บริการของสถาบันศึกษา การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด 5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล
คณะอาจารย์ และบุคลากร ในสถานศึกษา ด้านการเงิน บัญชี พัสดุ และครุภัณฑ์
หลักสำคัญในการพิจารณาว่าเป็นนวัตกรรม
จากความหมายของคำว่านวัตกรรมจะเห็นว่านักการศึกษาแต่ละท่านได้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันแต่พอจะมีเกณฑ์ให้เราพิจารณาได้ว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมหรือไม่
โดย ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้ให้เกณฑ์ในการพิจารณาสิ่งที่จะถือว่าเป็น
นวัตกรรมไว้ดังนี้
จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน
มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้
โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่ใส่เข้าไป กระบวนการ และผลลัพธ์
ให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย
หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว้า จะช่วยให้การดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน
หากกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
หลักสำคัญในการนำนวัตกรรมเข้ามาใช้
การที่จะรับนวัตกรรมเข้ามาใช้ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งนั้น
จำเป็นที่จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ความเหมาะสม
ความเป็นไปได้ ตลอดจนความคุ้มค่าของการนำมาใช้โดยคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (กิดานันท์ มลิทอง. 2541:246)
นวัตกรรมที่จะนำมาใช้นั้นมีจุดเด่นที่เห็นได้ชัดกว่าวัสดุ
อุปกรณ์ หรือวิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมากน้อยเพียงใด
นวัตกรรมนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่กับระบบหรือสภาพที่เป็นอยู่
มีการวิจัยหรือกรณีศึกษาที่ยืนยันแน่นอนแล้วว่า
สามารถนำมาใช้ได้ดีในสภาวการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้
นวัตกรรมนั้นมีความเกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้ใช้อย่างจริงจัง
นวัตกรรมทางการศึกษา "เพื่อเป็นผลงานทางวิชาการสำหรับครู"
นวัตกรรม หมายถึง เครื่องมือ
สื่อ หรือ วิธีการใหม่ๆ ที่นำมาพัฒนาการเรียนรู้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในทางที่ดีมีคุณภาพ และเกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น
ไม่ว่าสื่อหรือวิธีการนั้นจะคิดขึ้นใหม่ หรือ ดัดแปลงปรับปรุงมาจากของเดิมหรือเคยใช้ได้ผลดีมาแล้วจากที่อื่น
และนำมาใช้อีก ก็ถือว่าเป็น
"นวัตกรรม"
นวัตกรรมแบบทางการศึกษา หมายถึง
เครื่องมือ สื่อ แนวคิด วิธีการกระบวนการ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่นำมาใช้แก้ปัญหาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายของ
หลักสูตร
ประเภทนวัตกรรมทางการศึกษา ตามลักษณะผู้ใช้ประโยชน์จำแนกได้ดังนี้
ประเภทนวัตกรรม/สื่อสำหรับครู
|
ประเภทนวัตกรรม/สื่อสำหรับนักเรียน
|
- คู่มือครู
- เอกสารประกอบการสอน
- ชุดการการสอน
- สื่อประสมชนิดต่างๆ
- หนังสืออ้างอิง
- เครื่องมือวัดผลประเมินผล
- อุปกรณ์โสตทัศนวัสดุ
- โครงการ
- วิจัยในชั้นเรียน
- การศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล
- วิธีสอนแบบต่างๆ
ฯลฯ
|
- บทเรียนสำเร็จรูป
- เอกสารประกอบการเรียน
- ชุดฝึกปฏิบัติ
- ใบงาน
- หนังสือเสริมประสบการณ์
- ชุดเพลง
- ชุดเกม
- โครงงาน
ฯลฯ
|
หลักการพิจารณานำนวัตกรรมมาใช้พัฒนาการเรียนรู้
การจะพิจารณานำนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ในวิชา หรือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ใดๆ ควรยึดหลักสำคัญ
ดังนี้
1) ตรงกับปัญหาหรือจุดพัฒนาของวิชานั้นเพียงใด
2) มีความสอดคล้องกับธรรมชาติวิชาหรือไม่
3)
สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงได้หรือไม่
4) มีหลักฐานน่าเชื่อถือว่าเคยใช้ได้ผลดีมาแล้วหรือไม่
ประโยชน์ของนวัตกรรมทางการศึกษา
1) นักเรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
2) นักเรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม
3) บรรยากาศการเรียนสนุกสนาน
4) บทเรียนน่าสนใจ
5) ลดเวลาในการสอน
6) ประหยัดค่าใช้จ่าย
การออกแบบนวัตกรรม
นวัตกรรมมีความสำคัญ การพิจารณาความสำคัญของนวัตกรรม
ให้ดูที่เหตุผลความจำเป็นของปัญหา ถ้ามีข้อมูลแสดงว่านักเรียนส่วนใหญ่มีความบกพร่องในจุดประสงค์การเรียนใดๆ
ที่มีผลกระทบร้ายแรงต่อการเรียนการสอนทั้งปัจจุบัน และมีแนวโน้มเกิดขึ้นในอนาคตก็สมควรสร้างนวัตกรรมนั้นๆ ได้
ในการออกแบบนวัตกรรมผู้ออกแบบควรกล่าวถึงส่วนต่างๆ ต่อไปนี้
1) ชื่อนวัตกรรม 2) วัตถุประสงค์ของการใช้นวัตกกรรม 3)
ทฤษฎีหลักการที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรม 4) ส่วนประกอบของนวัตกรรม 5)
การนำนวัตกรรมไปใช้
การวางแผนพัฒนานวัตกรรม
เป็นแนวคิดที่ผู้ออกแบบนวัตกรรมจะต้องถามตัวเองว่า จะสร้าง นวัต กรรมอะไรจึงจะมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการแก้ปัญหาจะไปค้นหาแหล่งอ้างอิงที่
ไหนจะต้องสร้างกี่ชิ้นกี่ประเภท ใช้เทคนิคการสร้างอะไรบ้าง
จะมีแนวการใช้นวัตกรรมอย่างไร ผู้ออกแบบนวัตกรรมควรวางแผนไว้
3 ขั้นตอน
1)
ขั้นพัฒนา
ผู้ออกแบบนวัตกรรมต้องศึกษาแหล่งข้อมูลต่างๆ ของการพัฒนา
คือ
- ศึกษารายการนวัตกรรม และลักษณะเฉพาะของแต่ละนวัตกรรมตัวอย่างนวัตกรรม
- ศึกษาหลักสูตรหลักการสอนรายวิชาต่างๆ เอกสารแนะนำ
หลักการสอนต่างๆ ตัวอย่างแนวการสอน แนวการจัดกิจกรรม
- ศึกษาทบทวน ทฤษฎีการสอน
หลักจิตวิทยาการศึกษา
- มีความริเริ่มสร้างสรรค์ด้วยตนเอง
2) ขั้นทดลองใช้
2) ขั้นทดลองใช้
- หลังจากพัฒนานวัตกรรม 1 ชิ้น
ผู้สอนควรนำไปทดลองสอน ระบุ
ชั้น วิชา ทดสอบเก็บคะแนนและหลังการใช้นวัตกรรม
3) ขั้นประเมินผลและรายงาน
3) ขั้นประเมินผลและรายงาน
หลัง จากทดลอง ผู้ออกแบบนวัตกรรมได้นำนวัตกรรมไปทดลองใช้และเก็บคะแนน
วิเคราะห์ผลการทดสอบ แสดงสถิติเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนการทดลอง
ผู้ออกแบบนวัตกรรมเขียนรายงานผลการทดลองเผยแพร่ให้ครู-อาจารย์อื่นๆ
ทราบ อาจประกอบด้วย
(1) แผนการสอนที่ใช้ทดลองนวัตกรรม
(2) นวัตกรรมที่สร้าง หรือ
พัฒนาขึ้น
(3)
คู่มือการใช้นวัตกรรม
(4) แบบทดสอบ ก่อน-หลัง
การใช้นวัตกรรม
(5) รายงานผลการทดลอง
การทดลองใช้นวัตกรรม
การทดลองใช้นวัตกรรม หมายถึง
การนำนวัตกรรมที่สร้างเสร็จเรียบร้อยและมีการประเมินตรวจสอบคุณภาพของนวัต
กรรม ทั้งในด้านความเหมาะสมถูกต้องทางภาษา
เนื้อหา และความสะดวกหรือปัญหาอุปสรรคต่างๆ
ในการทดลองไปใช้สอนในสภาพบรรยากาศของชั้นเรียนจริงๆ โดยผู้ออกแบบนวัตกรรมจะต้องกำหนดรูปแบบการประเมินด้วยการระบุวัตถุประสงค์
ตัวแปรที่ศึกษา (ต้องการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง
เช่น ความสนใจ ผลสัมฤทธิ์ หรือ เวลาที่ใช้) กลุ่มตัวอย่าง
(ระบุว่าไปทดลองกับนักเรียน ระดับชั้นใด
โรงเรียนไหน จำนวนเท่าใด) เครื่องมือที่ใช้วัด (ได้แก่ แบบทดสอบ
แบบบันทึกการสังเกตหรือแบบสัมภาษณ์) และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลง่ายๆ
(เช่นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
หรือทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ฯลฯ) และกำหนดแนวทาง
สรุปผลการทดลองใช้
รูปแบบของการทดลอง
มีหลายรูปแบบ ในที่นี้จะนำเสนอเพียง
2 รูปแบบ เพื่อให้เกิดแนวคิด
ดังนี้
การทดลองรูปแบบที่
1
ผู้สอนนำนวัตกรรมไปใช้ในชั้นเรียน เมื่อการสอนสิ้นสุดลง
ทำการสอบ วัดเพื่อวัดผลการเรียนได้ผลหรือไม่
นวัตกรรม ------
สอบ
การทดลองรูปแบบที่ 2
ผู้สอนทำการทดสอบก่อนนำนวัตกรรมไปใช้ เว้นช่วงระยะเวลา
1 สัปดาห์ แล้วทำการสอน โดยใช้นวัตกรรม
เมื่อการสอนสิ้นสุดลง ให้นักเรียนทำ แบบทดสอบอีกครั้ง
ด้วยแบบทดสอบฉบับเดิม (หรือคู่ขนาน)
แล้วเปรียบเทียบผลการทดลอง
(สอบ----นวัตกรรม-------สอบ
ตัวอย่างนวัตกรรม
1. ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน
ชุดการสอน หมายถึง ระบบการนำสื่อการสอนหลายๆ ชนิดที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาและประสบการณ์ของแต่ละหน่วย
มาช่วยในการเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กให้บรรลุจุดมุ่งหมาย
ชุดการสอนนิยมจัดไว้ในกล่องหรือซองแบ่งเป็นหมวดๆ บางครั้งเรียกว่า
"กล่องการสอน" หรือ
"กล่องวิเศษ" เพราะหยิบมาเพียงกล่องเดียวก็ทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างสะดวกสบาย
และมีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง
ในแต่ละหน่วยของชุดการสอนจะกำหนดจุดมุ่งหมายเชิง พฤติกรรม
หัวข้อ เนื้อหาวิชา วิธีสอน กิจกรรม วัสดุอุปกรณ์
การวัดและประเมินผล เป็นหน่วยๆ ไป
แต่ละหน่วยจะมีความสมบูรณ์ในตัวเอง ชุดการสอนสามารถแบ่งได้เป็น
3 ชนิด คือ
1) ชุดการสอนประกอบการบรรยาย เป็นชุดการสอนสำหรับครู
กำหนดกิจกรรมและสื่อการสอนให้ครูใช้ประกอบการบรรยาย ทำให้ครูพูดน้อยลง นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนมากขึ้น
มีองค์ประกอบ ดังนี้
- คู่มือ (หัวข้อบรรยาย)
- สื่อ (ใช้ประกอบการบรรยาย)
- กิจกรรม (ตามลำดับ)
2) ชุดการสอนสำหรับกิจกรรม นักเรียนจะเรียนรู้จากการประกอบกิจกรรมกลุ่มร่วมกันตามสื่อและหัวข้อที่
กำหนดไว้ ครูจะเปลี่ยนบทบาทโดยสิ้นเชิง กลายเป็นผู้เตรียมประสบการณ์หรือ ผู้อำนวยการเรียน ผู้ประสานงาน (ให้เด็กทำกิจกรรม) และเป็นผู้ตอบคำถามเท่านั้น
3) ชุดการสอนรายบุคคล เป็นชุดการสอนที่สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเองตามกระบวนการและ
ลำดับขั้นที่บอกไว้ เมื่อเรียนจบตอนแล้วก็จะทำแบบทดสอบเพื่อประเมินผลแล้วก็เรียนชุดการสอนชุด
ต่อไป ตามลำดับขั้น ครูจะให้ความช่วยเหลือในฐานะผู้ประสานงานและคอยตอบปัญหา
(ถ้ามี) ชุดการสอนรายบุคคลนี้
ผู้เรียนนำไปเรียนที่บ้านก็ได้ เป็นการช่วยเสริมวิชาที่อ่อนได้เป็นอย่างดี
วิธีสอนแบบศูนย์การเรียน
การสอนแบบศูนย์การเรียน มีลักษณะสำคัญ
ดังนี้
1) แบ่งกลุ่มนักเรียน ตามแผนการจัดการเรียนรู้แต่ละเรื่องออกเป็น
4-6 กลุ่ม ให้มีกลุ่มสำรอง
1 กลุ่ม เสมอ
2. ระบบการสอนแบบศูนย์การเรียน เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง
เพื่อให้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่มั่นคงถาวร
3. จัดกิจกรรมการเรียน ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่คาดหวังตั้งเงื่อนไขและเกณฑ์ให้เหมาะสม
4. นำสื่อประสมมาประกอบการเรียนการสอน
5.
กระบวนการสอนในห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน มี 5 ขั้น คือ
1) ทำแบบทดสอบก่อนเรียน
2) นำเข้าสู่บทเรียน
3) จัดกิจกรรมการเรียน
4) สรุปบทเรียน และ
5) ประเมินผล
ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน
ชุดการสอนเป็นที่รวมของสื่อการเรียนหลายประเภทที่สนับสนุนให้การเรียนการสอน
ประสบความสำเร็จ การเรียนและสื่อการเรียนเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการเรียนการสอน
ส่วนประกอบของชุดการสอนในศูนย์การเรียน มีดังนี้
1) กล่องสำหรับใส่บัตรกิจกรรม
2) บัตรกิจกรรม ประกอบด้วย บัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรคำถาม บัตรเฉลย
3) สื่อการเรียน เช่น
แผ่นภาพ แผ่นที่ หุ่นจำลอง หนังสือ ฯลฯ
4)
คู่มือครู มีหัวข้อ คำนำ คำชี้แจง แผนการสอน
5)
ข้อทดสอบก่อนและหลังเรียน
6)
เฉลย
กระบวนการสร้างชุดการสอน
1.
ศึกษาจุดม่งหมายหลักสูตรและขอบข่ายของเนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้
ในระดับชั้นที่จะสอน
2. ทำโครงการสอนหรือกำหนดการสอนตลอดปี โดยแบ่งเป็นรายภาค
3. นำเนื้อหาวิชาหรือเรื่องที่จะสอนแบ่งเป็นหน่วยการเรียนย่อย
4. ทำแผนการจัดการเรียนรู้ วิธีทำแผนการจัดการเรียนรู้มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
(1) แบ่งเนื้อหาหรือเรื่องออกเป็นหน่วยย่อยเรียกว่า
หัวเรื่อง
(2) กำหนดแนวคิด
(3) กำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมให้มีพฤติกรรม เงื่อนไข
และเวลา
(4) กำหนดวิธีการนำเข้าสู่บทเรียน
(5) จัดกลุ่มกิจกรรม
(6) กำหนดการสรุปผลการเรียนและประเมินผล
(7) กำหนดสิ่งที่ครูจะต้องเตรียม
ตัวอย่างการสอนแบบศูนย์การเรียน
ตัวอย่างการสอนแบบศูนย์การเรียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
หน่วยการเรียนที่ 1.
สิ่งที่มีชีวิต
เวลา 3 ชั่วโมง
หัวเรื่อง
ศูนย์ที่ 1 1) การดำรงชีวิตของสัตว์
ศูนย์ที่ 2 2) ประโยชน์ของสัตว์
ศูนย์ที่ 3 3) การคุ้มครองและการสงวนรักษาสัตว์
เช่น การไม่จับปลาในฤดูวางไข่
ศูนย์ที่ 4 4) ผลเสียของการทำลายสัตว์
ศูนย์ที่ 5 5) การไม่ประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกายของบุคคลและสัตว์
ศูนย์ (สำรอง) 6) เขียนรายงาน
จุดม่งหมายเชิงพฤติกรรม
1. บอกการดำรงชีวิตของสัตว์ได้ 3 ข้อ จาก 5 ข้อ
2. บอกประโยชน์ของสัตว์ได้ 2 ข้อ
จาก 3 ข้อ
3. ยกตัวอย่างวิธีสงวนพันธุ์สัตว์ได้ 1 วิธี
4. พูดชักจูงให้ผู้อื่นเห็นว่าการทำลายสัตว์มีผลเสียอย่างไร
5.
อธิบายถึงความทุกข์และความเดือดร้อนของสัตว์หรือผู้อื่นอันสืบเนื่องมาจากการกระทำของตนได้
การดำเนินการเรียนการสอน มี 3 ขั้นตอน
ดังนี้
1. ขั้นนำไปสู่บทเรียน
2. ขั้นประกอบกิจกรรม
3.
ขั้นสรุปบทเรียน
แนวทางในการจัดกิจกรรมแต่ละขั้นตอน อาจทำได้ดังนี้
1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน อาจเลือกใช้วิธีหนึ่งวิธีใดก็ได้
เช่น สนทนา ซักถาม
ร้องเพลง "ลาวสมเด็จ"
เป็นต้น
2. ขั้นประกอบกิจกรรม
ศูนย์
|
เนื้อหาวิชาบูรณาการ
|
สื่อการเรียน
|
กิจกรรมการเรียน
|
ประเมินผล
|
5
|
1.สิ่งมีชีวิต(สัตว์)
การไม่ประทุษร้ายต่อชีวิต
และร่างกายของ
บุคคลและสัตว์
|
1.บัตรคำสั่ง
6 บัตร
2.บัตรเนื้อหา
6 บัตร.
3.แผ่นภาพที่แสดง
- คนกำลังทรมานสัตว์
-ทั้งหมดรวมอยู่
ในภาพเดียวกัน
ภาพเดียวกันจัด
4.บัตรกิจกรรม6บัตร
5.บัตรเฉลย6บัตร
6.นำกระดาษคำตอบ
ติดตัวไปด้วย
|
1.อ่านบัตรคำสั่ง
2.อ่านบัตรเนื้อหา
3.ดูแผ่นภาพ
4.อ่านบัตรกิจกรรม
และปฏิบัติตามคำชี้แจง
5.ตรวจคำตอบจากเฉลย
ด้วยตนเองในตอน
ก. ส่วนตอน
ข. ส่งครูตรวจ
|
1.นักเรียนตอบคำถาม
เกี่ยวกับคุณค่าของ
ความเมาตตา
ได้ถูกต้องอย่างน้อย
4ข้อใน5ข้อ
2.นักเรียนแสดง
ความคิดเห็นจากภาพที่ได้ดู
|
ศูนย์อื่นๆ ก็ทำตามตัวอย่างข้างต้น เว้นแต่มีกิจกรรมที่ต่างกันออกไปแล้วแต่ผู้สอนจะกำหนด
การสรุปบทเรียนอาจทำได้หลายวิธี เช่น อภิปราย เสนอความคิดเห็นแสดงบทบาทสมมุติเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน เป็นต้น
การประเมินผล
1. จากการสังเกตการณ์ปฏิบัติกิจกรรมภายในกลุ่มทั้งที่เป็นงานเฉพาะบุคคลและงานกลุ่ม
2. จากการให้ทำข้อทดสอบก่อน-หลังเรียน 20 ข้อ และข้อทดสอบประจำกลุ่ม
3. สังเกตพฤติกรรมภายหลังการเรียนเรื่องนี้แล้วเมื่อได้ชุดการสอนแล้ว
ครูก็นำไปสอนให้ห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน
สิ่งที่ครูต้องเตรียมเมื่อจะสอนแบบศูนย์การเรียน
1. กระดาษคำตอบ ซึ่งนักเรียนต้องนำติดตัวไปเพื่อปฏิบัติกิจกรรมตามศูนย์ต่างๆ
2. เครื่องบันทึกเสียง
3. สื่อการเรียนทุกชนิดที่ระบุอยู่ในช่องสื่อการเรียนในแผนการจัดการเรียนรู้
4. สถานที่สอน
นวัตกรรมการศึกษาที่น่าสนใจ
การนำนวัตกรรมมาใช้ในวงการศึกษาเรียกว่า
“นวัตกรรมการศึกษา”
(Educational Innovation) หมายถึง
นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมเหล่านั้น และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย
ปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่างซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันแพร่หลายแล้วและประเภทที่กำลังเผยแพร่
เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้แผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ สื่อหลายมิติ เป็นต้น
สื่อประสม (Multi
Media)
สื่อประสม
หมายถึง การนำเอาสื่อหลาย ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์
และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน
โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา
และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วยเพื่อการพลิกหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง
ๆ ในการเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์
และเสียง
จากความหมาย ของคำว่าสื่อประสม
นักเทคโนโลยีการศึกษาได้แบ่งสื่อประสมออกเป็น
2 กลุ่ม คือ
สื่อประสม (Multimedia 1) เป็นสื่อประสมที่ใช้โดยการนำสื่อหลายประเภทมาใช้ร่วม
กันในการเรียนการสอน
เช่น นำวีดิทัศน์มาสอนประกอบการบรรยายของผู้สอนโดยมีสื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วย
หรือการใช้ชุดการเรียนหรือชุดการสอน
การใช้สื่อประสมประเภทนี้ผู้เรียนและสื่อจะไม่มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกัน
และจะมีลักษณะเป็น “สื่อหลายแบบ”
สื่อประสม (Multimedia 2) เป็นสื่อประสมที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเสนอสาร
สนเทศหรือการผลิตเพื่อเสนอข้อมูลประเภทต่าง
ๆ เชนภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ตัวอักษรและเสียงในลักษณะของสื่อหลายมิติ
โดยที่ผู้ใช้มีการโต้ตอบกับสื่อโดยตรง
การนำสื่อประสมมาใช้ในการศึกษา
สื่อประสมมีประโยชน์ในด้านการศึกษาหลาย ๆ
ประการ เช่น เป็นการดึงดูดความสนใจ
ของผู้เรียน
เป็นการให้สารสนเทศที่หลากหลาย
สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบรายบุคคลได้เป็นอย่างดี
ที่สำคัญช่วยให้ผู้เรียนสามารถตรวจสอบยั้อนหลังและแก้ไขจุดอ่อนในการเรียนได้
ซึ่งเราสามารถใช้สื่อประสมเพื่อการศึกษาได้ในลักษณะต่าง ๆ เช่น
เป็นเกมเพื่อการศึกษา คือ
การใช้เกมในลักษณะของสื่อประสมซึ่งจะเป็นสิ่งที่ดึงดูด
ความสนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดีนอกเหนือไปจากความสนุกสนานจากการเล่นเกมตามปกติ
เกมต่าง ๆ
จะมีการสอดแทรกความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น คำศัพท์ ความหมายของวัตถุ
แผนที่ทางภูมิศาสตร์
การฝึกทักษะด้านความเร็วในการคิดคำนวณ ฯลฯ
เกมเพื่อการศึกษาเกมหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพื่อให้ความรู้ด้านภูมิศาสตร์และฝึกทักษะด้านการค้นหาได้แก่
เกม ชื่อ Where in the World is
Carmen Sandiago เป็นต้น
การสอนและการทบทวน คือ
การใช้สื่อประสมเพื่อการสอนและทบทวนซึ่งมีด้วยการ
หลายรูปแบบ เช่น
การฝึกสะกดคำ การคิดคำนวณ และการเรียนภาษา
ผู้เรียนจะมีโอกาสเรียนรู้จากการสอนในเนื้อหา และฝึกปฏิบัติเพื่อทบทวนไปด้วยในตัว
จนกว่าจะเรียนเนื้อหาในแต่ละตอนได้เป็นอย่างดีแล้วจึงเริ่มในบทใหม่ตามหลักของการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เช่น การเรียนภาษาต่างๆ
สารสนเทศอ้างอิง คือ
สื่อประสมที่ใช้สำหรับสารสนเทศอ้างอิงเพื่อการศึกษามักจะ
บรรจุอยู่ในแผ่นซีดี
– รอม
เนื่องจากสามารถบรรจุข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก
โดยจะเป็นลักษณะเนื้อหานานาประเภทอาทิเช่น สารนุกรม พจนานุกรม แผนที่โลก ปฏิทินประจำปี
สารทางการแพทย์ ประวัติศาสตร์ ฯลฯ
สื่อหลายมิติ (HyperMedia)
สื่อหลายมิติ คือ
การเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ
ที่สื่อเสนอได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็ว
ซึ่ง “สื่อหลายมิติ”
(Hypermedia) นี้ได้พัฒนามาจาก “ข้อความหลายมิติ”
(Hypertext) ซึ่งเป็นการเสนอเพียงข้อความตัวอักษร
ภาพกราฟิกและเสียงที่มีมาแต่เดิม
ลักษณะของข้อความหลายมิติ
(Hypertext)
ข้อความหลายมิติ (Hypertext) เป็นระบบย่อยของ สื่อหลายมิติ(Hypermedia) เป็นการนำเสนอสารสนเทศที่ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องอ่านเนื้อหาในมิติเดียวเรียงลำดับกันในแต่ละบทตลอดทั้งเล่ม
โดยผู้อ่านสามารถข้ามไปอ่านหรือค้นคว้าข้อมูลที่สนใจในตอนใดก็ได้
โดยไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับ (น้ำทิพย์ วิภาวิน, 2542 : 53 ; วิเศษศักดิ์ โคตรอาชา และคณะ , 2542 : 53) ลักษณะของ Hypertext ที่เห็นกันโดยทั่วไป เช่น Help ของ Windows ซึ่งจะมีข้อความอธิบายในเรื่องหนึ่งอยู่
แต่เมื่อมีคำเฉพาะหรือคำที่สามารถอธิบายในรายละเอียดได้อีก
คำนั้นจะถูกเชื่อมไปยังข้อความหรือไฟล์อีกไฟล์หนึ่งเพื่อให้ผู้ใช้เรียกดู (ธนะพัฒน์ ถึงสุข และ ชเนนทร์
สุขวารี, ม.ป.ป : 84)
รูปแบบของข้อความหลายมิติมีลักษณะของการเสนอเนื้อหาที่ไม่เป็นเส้นตรงในมิติเดียว
ผู้อ่านสามารถอ่านเนื้อหาข้อมูลในมิติอื่น ๆ
ได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับตามเนื้อหา ทั้งนี้เพราะ
ข้อความหลายมิติมีการตัดข้อมูลเป็นส่วนย่อยเป็นตอน ๆ เรียกว่า “ จุดต่อ” (nodes)
และเมื่อผู้อ่านเรียกจุดต่อขึ้นมาอ่านเราเรียกว่า “การเลือกอ่าน” (browse)
จุดต่อที่ผู้อ่านจะเรียกมาใช้อ่านนั้นก็เมื่อจุดต่อนั้นมีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลหรือเนื้อหาที่กำลังอ่านอยู่นั้น
จุดต่ออาจจะประกอบด้วยคำเพียง 2 – 3 คำ หรือเป็นข้อมูลเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนั้นก็ได้
การติดต่อกันของจุดต่อนี้เกิดจากการ
“เชื่อมโยง”
(link) ซึ่งผู้อ่านสามารถกระโดดข้ามจากจุดต่อหนึ่งไปยังอีกจุดต่อหนึ่งได้โดยการคลิกเมาส์ที่
“ปุ่ม” (button) ซึ่งอาจทำไว้ในลักษณะตัวอักษรดำหนา
ตัวอักษรสี ตัวขีดเส้นใต้ แถบดำ จุดดำ สัญลักษณ์ เช่น
อาจเป็นรูปตาถ้าต้องการแสดงจุดต่อของรูปภาพ หรือทำเป็นรูปลำโพง
หรือไมโครโฟนเพื่อเสนอเสียงพูดหรือเสียงดนตรีก็ได้
ข้อมูลที่บรรจุในข้อความหลายมิติอาจเปรียบเทียบได้เสมือนกับเป็นบัตรหรือแผ่นฟิล์มใสหลาย
ๆ แผ่นที่วางซ้อนกันเป็นชั้น ๆ (stacks) ในแต่ละแผ่นจะบรรจุข้อมูลแต่ละอย่างลงไว้
โดยที่แผ่นแรกจะเป็นข้อมูลเริ่มต้นเพื่อให้อ่านและสามารถใช้เป็นรายการเพื่อพาดพิงหรือค้นคว้าไปถึงข้อมูลในแผ่นอื่น
ๆ ต่อไป ข้อมูลเพิ่มเติมย่อย ๆ
หรือจุดต่อนี้จะปรากฏในกรอบเล็กหรือหน้าต่างเพื่ออธิบายข้อมูลเริ่มต้นนั้นให้กระจ่างแจ้งยิ่งขึ้น
และจะดึงออกมาได้มากน้อยเท่าไรก็ได้ตามความต้องการต่อจากนั้นผู้อ่านก็สามารถข้ามไปอ่านเนื้อหาข้อมูลที่สนใจต่อไปได้
และสามารถดึงจุดต่อออกมาใช้ได้ทุกเวลาตามต้องการ
จากความหมายและลักษณะของสื่อหลายมิติที่ได้ทราบไปแล้วนั้นว่าจะเสนอข้อมูลในลักษณะตัวอักษร
ภาพกราฟิกอย่างง่าย ๆ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาข้อความหลายมิติให้สามารถบรรจุข้อมูลได้หลากหลายประเภทขึ้นจึงได้ชื่อว่าเป็น
“ไฮเปอร์มีเดีย”
(Hypermedia) หรือตามศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานว่า
“สื่อหลายมิติ”
สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง
และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์
ภาพกรกฟิกที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี
เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย
เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่าง ๆ
ได้หลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิม (กิดานันท์ มลิทอง. 2540: 269)
สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสมอื่นๆ
ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่างๆ ได้ทั้ง ข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว (น้ำทิพย์ วิภาวิน, 2542 :
53) Hypermedia เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน
(วิเศษศักดิ์
โคตรอาชา และคณะ , 2542 : 53)
จุดประสงค์ของการใช้สื่อหลายมิติ ( Hypermedia)
ใช้เป็นเครื่องมือในการสืบค้น
(Browsing) สืบไปในข้อมูลสารสนเทศหรือบทเรียนต่างๆ
ใช้เพื่อการการเชื่อมโยง
(Linking)
โดยผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงแฟ้มข้อมูลต่างๆ ภายในระบบเดียวกัน
ตลอดจนเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายภายนอก เช่น การเชื่อมต่อกับ Intranet Internet
เป็นต้น
ใช้ในการสร้างบทเรียน
(Authoring) สร้างโปรแกรมนำเสนอรายงานสารสนเทศต่างๆ
ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพ เสียง
และภาพเคลื่อนไหว
(วิเศษศักดิ์ โคตรอาชา และคณะ , 2542 : 56)
สื่อหลายมิติกับการเรียนการสอน
จากความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วนี้เอง
ทำให้มีสถาบันการศึกษาหลายแห่งมีการใช้สื่อหลายมิติในการเรียนการสอนในระดับชั้นและวิชาเรียนต่าง
ๆ แล้วในปัจจุบัน
ตัวอย่างการใช้สื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
เช่น โรงเรียนฟอเรสต์ฮิลล์ เมืองแกรนด์
แรพิดส์ มลรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ได้ใช้สื่อหลายมิติตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา
โดยใช้ในลักษณะบทเรียนสื่อหลายมิติ
โดยครูและนักเรียนได้ร่วมกันสร้างบทเรียนเกี่ยวกับการถูกทำลายของป่าฝนในเขตร้อน
โดยเริ่มต้นด้วยการค้นคว้าหาเนื้อหาข้อมูลจากห้องสมุดแล้วรวบรวมภาพถ่าย
ภาพเคลื่อนไหว และเสียงจากแหล่งค้นคว้าต่าง ๆ มาเป็นข้อมูล แล้วทำการสร้างบทเรียนโดยการใช้ Hypercard และอุปกรณ์ต่าง ๆ
ในการบันทึกข้อมูลเช่น ใช้เครื่องกราดภาพในการบันทึกภาพถ่าย
ส่วนภาพเคลื่อนไหวและเสียงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่อกับเครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์
และเนื้อหาบางส่วนบันทึกจากแผ่นซีดี – รอมด้วย เนื้อหาถูกเชื่อมโยงโดย “ปุ่ม”
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดยการเลือกเรียนและศึกษาเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการ
นอกจากนี้
ยังมีการเขียนบทเรียนการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในลักษณะสื่อหลายมิติโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง
ๆ เช่น ToolBook และ AuthorWare ด้วย
ประโยชน์ของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
ในการเรียนบทเรียนที่เขียนในลักษณะสื่อหลายมิติผู้เรียนสามารถเรียนรู้ข้อมูลจาก
บทเรียนได้มากมายหลายประเภทในลักษณะต่าง ๆ กันดังนี้
เรียกดูความหมายของคำศัพท์
ที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจได้ทันที
ขยายความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนด้วยการ
ดูแผนภาพหรือภาพวาด
ดูภาพถ่าย ภาพนิ่ง
และภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกจากเครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์
ฟังเสียงคำอธิบายที่เป็นเสียงพูด
หรือฟังเสียงดนตรี เสียง special effect
ใช้สมุดบันทึกที่มีอยู่ในโปรแกรมเพื่อบันทึกใจความสำคัญของบทเรียน
ใช้เครื่องมือสำหรับการวาดภาพในโปรแกรมนั้นเพื่อวาด
แผนที่มโนทัศน์ (concept map) ของตนเพื่อให้เข้าใจบทเรียนได้ง่ายยิ่งขึ้น
สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่าง
ๆ ที่สนใจขึ้นมาอ่านหรือดูเพิ่มเติมได้โดยสะดวก
ใช้แผนที่ระบบ (system map) เพื่อดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ตรงส่วนใดของบทเรียนและเพื่อช่วยในการดูว่าจะเรียนในส่วนใดของบทเรียนต่อไป
ซีดี – รอม
(Compact Disc – Read Only Memory
: CD ROM)
ซีดี –รอม เป็นสื่อบันทึกประเภทสื่อแสง (optical
media) ที่ทำการบันทึกและอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ได้หลากหลายรูปแบบมีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกกลม
เส้นผ่าศูนย์กลาย 4.75 นิ้ว
ผิวหน้าด้วยโลหะสะท้อนแสงเพื่อป้องกันข้อมูลที่บันทึกไว้
สามารถบันทึกข้อมูลได้มากถึง 680 เมกะไบต์
ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นได้เพียงอย่างเดียวโดยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลเหล่านั้นได้
ซีดี – รอมนั้นก็คือ สื่อบันทึกที่เราเรียกกันว่า “แผ่นซีดี” ที่มาจากคำภาษาอังกฤษว่า
“Compact Disc” นั่นเอง
คุณสมบัติของซีดี-รอม
ซีดีรอมเป็นสื่อที่มีคุณสมบัติที่เป็นข้อได้เปรียบสื่ออื่นมากมายหลายประการ
ได้แก่
1. ความจุข้อมูลมหาศาล ซีดี-รอม
แผ่นหนึ่งสามารถบรรจุข้อมูลได้มากถึง 680 เมกะไบต์ เปรียบเทียบได้กับ หนังสือ
250,000 หน้า
หรือข้อความในกระดาษพิมพ์ดีดจำนวน 300,000 แผ่น
2. บันทึกข้อมูลนานาประเภท เนื่องจากการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นซีดี –
รอมอยู่ในระบบดิจิทัล จึงสามารถบันทึกข้อมูลในลักษณะตัวอักษร
ภาพถ่ายสีและขาวดำ ภาพเคลื่อนไหว ภาพกราฟิก เสียงพูด และสียงดนตรี
ได้อย่างมีคุณภาพสูง
3. การสืบค้นฉับไว แม้ว่าซีดี รอม
จะบรรจุข้อมูลจำนวนมหาศาลไว้ก็ตาม แต่การค้นหาข้อมูลในแผ่นซีดี – รอมอยู่ในลักษณะ “เข้าถึงโดยสุ่ม” ซึ่งเป็นการเข้าถึงข้อมูลโดยใช้เวลาในการค้นหาได้รวดเร็วเท่ากันหมดไม่ว่าข้อมูลนั้นจะอยู่ในที่ใดของแผ่น
มาตรฐานสากล แผ่นซีดี –
รอม อยู่ในรูปแบบมาตรฐานที่มีขนาดและลักษณะ
เดียวกันกันหมดจึงทำให้สามารถใช้กับหน่วยขับซีดี-รอมหรือเครื่องเล่นซีดี-รอม ทั่วไปได้เหมือน ๆ กัน
ราคาไม่แพง จากความนิยมใช้ซีดี – รอมในปัจจุบัน จึงทำให้การผลิตแผ่นและ
เครื่องเล่นจำนวนมากมีต้นทุนที่ต่ำลง
แผ่นและเครื่องเลนซีดี-รอมทุกวันนี้จึงมีราคาลดลงมากจนสามารถซื้อหามาใช้กันได้อย่างแพร่หลายทั่วไป
อายุการใช้งานนาน กล่าวกันว่าแผ่นซีดี-รอม จะมีอายุใช้งานทนทานได้นาน
ตลอดไปโดยที่แผ่นไม่ฉีกขาดและไม่มีรอยขูดขีดของหัวเข็มเนื่องจากใช้แสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูล
ถึงแม้จะมีคราบสกปรกจากรอยนิ้วมือหรืฝุ่นละออกก็สามารถทำความสะอาดได้
ความคงทนของข้อมูล ซีดี-รอมเป็นสื่อที่ไม่กระทบกระเทือนต่อสนามแม่เหล็ก
จึงทำให้ข้อมูลอยู่คงที่ตอลดไป
และที่สำคัญคือ ไม่ติดไวรัสเนื่องจากไม่สามารถบันทึกทับได้
ประหยัด
เมื่อเทียบขนาดเนื้อที่การบันทึกข้อมูลระหว่างแผ่นซีดี-รอมกับแผ่น
บันทึกแล้วจะเห็นได้ว่าซีดี-รอมแผ่นหนึ่งสามารถบรรจุข้อมูลได้มากกว่าแผ่นบันทึกหลายร้อยเท่า
ความสะดวก
เนื่องจากซีดี-รอม
เป็นแผ่นที่มีขนากเล็ก จึงทำให้ไม่เปลืองเนื้อที่
ในการเก็บ
สามารถพกพาไปใช้ในสถานที่ต่าง ๆ ได้โดยสะดวก
ประเภทของข้อมูลบนซีดี-รอม
ซีดี-รอมในปัจจุบันมีการบันทึกข้อมูลทุกประเภทลงบนแผ่นเพื่อการใช้ในลักษณะ
“สื่อประสม” ข้อมูลอาจมีอยู่เพียงลำพังหรือรวมอยู่กับข้อมูลประเภทอื่น
ๆ ก็ได้ ประเภทต่าง ๆ ของข้อมูลมีดังนี้
1. ตัวอักษร
ข้อมูลในลักษณะตัวอักษรเป็นประเภทของข้อมูลพื้นฐานที่นิยมบันทึกลงซีดี-รอมซึ่งบันทึกได้มากสุดถึง 680
ล้านอักขระ
เสียง เสียงที่บันทึกลงซีดี-รอมมีอยู่มากมายหลายประเภท โดยสามารถใช้
บันทึกเสียงแบบ ADPCM ได้มากสุดถึง 18
ชั่วโมง
นับตั้งแต่เสียบบี๊บจนถึงเสียงดนตรี
ภาพกราฟิก ภาพกราฟิกที่บันทึกลงบนแผ่นซีดี-รอมเป็นได้ทั้งภาพถ่ายและ
ภาพวาดลายเส้นที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวทำจากโปรแกรมต่าง
ๆ ซึ่งบันทึกอยู่ในสารบบย่อยแยกต่างหากจากแฟ้มข้อมูลที่เป็นตัวอักษรหรือเสียง
วีดีทัศน์ การบันทึกภาพวีดิทัศน์ที่ใช้เล่นในเวลา 1 วินาทีต้องใช้เนื้อที่บรรจุข้อมูลถึง 22 - 27 เมกะไบต์เลยทีเดียว จึงทำให้ซีดี-รอมแผ่นหนึ่งที่มีความจุ 680 เมกะ
ไบต์สามารถบรรจุภาพวีดิทัศน์ได้เพียง 30 วินาทีเท่านั้น
ซีดี-รอม
เพื่อการศึกษา
เนื่องจากซีดี-รอม
เป็นสื่อที่สามารถบันทึกข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก
ภาพกราฟิกเคลื่อนไหว ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์และเสียง
จึงทำให้เหมาะในการบันทึกสารสนเทศนานาประเภทลงไว้ในแผ่นเพื่อความรู้และความบันเทิง
สำหรับด้านการศึกษานั้นได้มีการบันทึกเนื้อหาทั้งที่ให้ความรู้ทั่ว ๆ
ไปและเพื่อการสอนโดยตรงได้ในลักษณะของการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
ซึ่งซีดีรอมที่สามารถนำมาใช้ในการให้ความรู้และการสอนมีตัวอย่างดังนี้
ใช้เพื่อสอนอ่าน
ใช้เพื่อเป็นเกมการศึกษา
ให้ความรู้/ฐานข้อมูล
กฤตศิลป์
ดนตรี
ท่องเทียว
ความจริงเสมือน (Virtual Reality : VR)
ความจริงเสมือน (Virtual Reality) หรือที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า “
วีอาร์ ” (VR) เป็นกลุ่มเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบที่ผลักดัน
ให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกของการเข้าร่วมอยู่ภายในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้มีอยู่จริงที่สร้างขึ้นโดยคอมพิวเตอร์
พัฒนาการของความเป็นจริงเสมือนได้รับอิทธิพลมาจากแนวความคิดง่าย ๆ
แต่มีอำนาจมากเกี่ยวกับการที่จะเสนอสารสนเทศอย่างไรให้ดีที่สุด คือ
ถ้าผู้ออกแบบสามารถให้ประสาทสัมผัสของมนุษย์มีความค่อยเป็นค่อยไปในปฏิสัมพันธ์กับโลกทางกายภาพซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ล้อมรอบตัวเราแล้ว
มนุษย์ก็จะสามารถรับและเข้าใจสารสนเทศได้ง่ายขึ้น
ถ้าสารสนเทศนั้นกระตุ้นการรับรู้สัมผัสของผู้รับ
เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนสามารถเลียนการรับรู้สัมผัสของโลกทางกายภาพได้โดยสร้างการรับรู้หลายทางในสิ่งแวดล้อมสามมิติขึ้นมา
ความเป็นจริงเสมือนได้สร้างเนื้อหาสาระของสิ่งที่แสดงให้เห็นโดยการรับรู้ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของคอมพิวเตอร์
เพื่อสนองต่อการเคลื่อนไหวทางกายภาพของผู้ใช้ที่สืบหาด้วยเครื่องรับรู้ของคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์ในการทำงานของความเป็นจริงเสมือน
การทำงานของความเป็นจริงเสมือนประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญ 2 อย่าง คือ จอภาพสวมศีรษะและถุงมือรับรู้ โดยการทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์โปรแกรมคอมพิวเตอร์
การทำงานของความเป็นจริงเสมือนประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญ 2 อย่าง คือ จอภาพสวมศีรษะและถุงมือรับรู้ โดยการทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์โปรแกรมคอมพิวเตอร์
1. จอภาพสวมศีรษะ (head-mounted display : HMD) หรือที่รู้จักกันว่า “ชุดแว่นตา” (goggles) ประกอบด้วยแว่นตาที่บรรจุจอมอนิเตอร์ขนาดเล็กซึ่งทำด้วยกระจก 3
มิติ เรียกว่า “stereoscopic glasses” ทำมุมกว้างประมาณ 140 องศา
เพื่อให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นสิ่งที่เป็นนามธรรมในลักษณะ 3 มิติ
ในโลกของความเป็นจริงเสมือนได้
ถุงมือรับรู้ (sensor
glove) เป็นถุงมือขนาดเบาที่มีเส้นใยนำแสงเรียงเป็นแนวอยู่
ตามนิ้วและข้อมือเพื่อเป็นเครื่องรับรู้การเคลื่อนที่และส่งสัญญาณไปยังคอมพิวเตอร์
เมื่อสวมถุงมือนี้แล้วจะทำให้ผู้ใช้เข้าถึงสิ่งแวดล้อม 3 มิติ
ถุงมือรับรู้จะทำให้ผู้ใช้จับต้องและรู้สึกได้ถึงวัตถุสิ่งของซึ่งไม่มีอยู่ที่นั่นจริง ๆ
ซอฟต์แวร์โปรแกรม การที่จะให้ได้ภาพ 3 มิตินั้นจะต้องใช้ซอฟต์แวร์โปรแกรม
เพื่อสร้างภาพบนคอมพิวเตอร์ด้วยเพื่อให้ผู้ใช้สามารถท่องสำรวจไปในโลกเสมือนจริงได้
การใช้ความเป็นจริงเสมือนในวงการต่าง ๆ
กายศาสตร์
เนื่องจากเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนเป็นการนำร่างกายคนเราเข้าไป
อยู่ในโลกเสมือนจริงจึงสามารถนำมาใช้ทางด้านการศึกษาได้เป็นอย่างดี
เช่น
องค์การนาซาต้องการออกแบบอุปกรณ์ทางด้านอวกาศและดูว่านักบินอวกาศจะใช้อุปกรณ์เหล่านั้นได้อย่างไรนักวิจัยต้องใช้ความเป็นจริงเสมือนในการทำแบบจำลองอุปกรณ์นั้นและทดสอบว่าร่างกายมนุษย์จะสามารถเข้ากันได้และใช้อุปกรณ์นั้นอย่างไร
โบราณคดี
ความเป็นจริงเสมือนจะช่วยในการสำรวจซากโบราณสถานและโบราณ
วัตถุที่ค้นพบได้ว่าของเดิมเป็นอย่างไรและอยู่ในช่วงสมัยใด
สถาปัตยกรรม
ความเป็นจริงเสมือนสามารถนำมาใช้ในด้านการออกแบบอาคาร
โดยให้สถาปนิกและลูกค้าสำรวจภายในแบบจำลองและแก้ไขแบบการก่อนสร้างให้เป็นไปตามต้องการ
การแพทย์
แพทย์และศัลยแพทย์จะใช้ความเป็นจริงเสมือนในการดูระบบ 3 มิติ
ในร่างกายคนไข้
บันเทิง
มีการทดลองสร้างสถานบันเทิงแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริง
เสมือนในรูปแบบของโรงภาพยนตร์เดิมแต่จะมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกนานาชนิดสำหรับการแสดงประเภทต่าง
ๆ
ความเป็นจริงเสมือนเพื่อการศึกษา
ในวงการศึกษานั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าการสร้างจินตนาการเป็นวิธีการสนการเสนอข้อมูลและมโนทัศน์แก่ผู้เรียนเพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจและการปรับตัวให้เข้าได้ในสังคม
การนำความเป็นจริงเสมือนมาใช้ในการศึกษาสามารถใช้ได้ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. สำรวจสถานที่และสิ่งของที่มีอยู่ที่ผู้เรียนยังไม่อาจเข้าถึงได้
สำรวจของจริงซึ่งถ้าไม่มีการเปลี่ยนสัดส่วนขนาดและระยะเวลาแล้วจะไม่สามารถ
สำรวจได้อย่างมีประสิทธิผล
สร้างสถานที่และวัตถุด้วยคุณภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิม
มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นที่อยู่ในที่ห่างไกลออกไปโดยผ่านทางสมาคมที่มีความสนใจ
ในเรื่องเดียวกัน
มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลจริงในโลกความจริงเสมือน
มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งที่เป็นความเป็นจริงเสมือน
อินเทอร์เน็ต (Internet)
อินเทอร์เน็ต คือ ระบบของการเชื่อมโยงข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มากครอบคลุมไปทั่วโลก
เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการสื่อสารข้อมูล เช่นการบันทึกเข้าระยะไกล
การถ่ายดอนแฟ้ม ฯลฯ
อินเทอร์เน็ต คือ ข่ายของข่ายงาน (network of
networks) เนื่องจากเป็นข่ายงานขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงข่ายงานทั้งหมดทั่วโลกเข้าด้วยกัน
โดยที่อินเทอร์เน็ตตั้งอยู่ในไซเบอร์สเปซ
ซึ่งเป็นจักรวาลที่สร้างขึ้นโดยระบบคอมพิวเตอร์
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าไปอยู่ในไซเบอร์สเปซได้ โดยใช้โมเด็มและติดต่อกับผู้ใช้คนอื่นได้
การใช้งานอินเตอร์เน็ต
เราสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการทำงานได้มากมายหลากหลายประเภทดังนี้
1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Mail : E-Mail) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า อี-เมล์
เป็นการรับส่งข้อความผ่านขายงานคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถส่งข้อความจากข่ายงานที่ตนใช้อยู่ไปยังผู้รับอื่น
ๆ ได้ทั่วโลก
การถ่ายโอน (File Transfer Protocol : FTP) เป็นการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลประเภท
ต่าง ๆ
จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นมาบรรจุลงไว้ในคอมพิวเตอร์ของเรา
การขอเข้าใช้ระบบจากระยะไกล
โปรแกรมที่ใช้ในอินเทอร์เน็ตเพื่อการขอเข้าไปใช้
ระบบจากระบบโปรแกรมหนึ่งที่รู้จักกันดี
คือ เทลเน็ต (Telnet) เป็นการให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปใช้ทรัพยากรหรือขอใช้บริการจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
การค้นหาแฟ้ม
เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นระบบขนาดใหญ่ที่ครอบคลลุมกว้างขวาง
ทั่วโลก
โดยมีแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ มากมายอยู่ในระบบผู้ใช้สามารถสืบค้นมาใช้งานได้
การค้นหาข้อมูลด้วยระบบเมนู
เป็นการใช้ในระบบยูนิกซ์เพื่อค้นหาข้อมูลและขอใช้
บริการข้อมูลด้วยระบบเมนู
กลุ่มอภิปรายหรือกลุ่มข่าว
(Newsgroup) เป็นการรวมกลุ่มของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่
สนใจเรื่องเดียวกันแลกเปลี่ยนข่าวสารหรือแนวคิดกัน
บริการสารสนเทศบริเวณกว้าง
(เวส) (Wide Area Information Server : WAIS)
เป็นผลการใช้เวสเพื่อเชื่อมโยงศูนย์ข้อมูลที่อยู่ในข่ายงานอินเทอร์เน็ตเข้าด้วยกัน
การสนทนาในข่ายงาน (Internet Relay Chat : IRC) เป็นการสนทนากันของผู้ใช้โดย
มีการโต้ตอบกันทันทีโดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันผ่านเครือข่าย
สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Publisher) หนังสือพิมพ์ วารสาร และนิตยสาร
เช่น TIME,ELLE โดยบรรจุเนื้อหาลงไปในเว็บไซต์ของตน
เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW)
หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “เว็บ” เป็นการสืบค้น
สารสนเทศที่อยู่ในอินเทอร์เน็ตในระบบข้อความหลายมิติโดยคลิกที่จุดเชื่อมโยง
อินเทอร์เน็ตในการศึกษา
เราสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการศึกษาได้หลายรูปแบบ
ได้แก่
การค้นคว้า
เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นข่ายงานที่รวมข่ายงานต่าง ๆ มากมายไว้
ด้วยกันจึงทำให้สามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่าง
ๆ ทั่วโลก
การเรียนและติดต่อสื่อสาร
ผู้สอนและผู้เรียนสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนติด
ต่อสื่อการกันได้โดยที่ผู้สอนจะเสนอเนื้อหาบทเรียนโดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ผู้เรียนเปิดอ่านเรื่องราวและภาพประกอบที่เสนอในแต่ละบทเรียน
การศึกษาทางไกล
การใช้อินเทอร์เน็ตในการศึกษาทางไกลอาจจะใช้ในรูปแบบของ
การสื่อสาร
โดยการใช้บทเรียนที่อยู่ในไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แทนหนังสือเรียน
การเรียนการสอนอินเทอร์เน็ต
เป็นการฝึกอบรมเพื่อให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถใช้
โปรแกรมต่าง ๆ
เพื่อทำงานในอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ต
เป็นการใช้อินเทอร์เน็ตในกิจกรรมการเรียนการสอนใน
ระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย
เช่น การจัดตั้งโครงการร่วมระหว่างสถาบันการศึกษาเพื่อแลก
เปลี่ยนข้อมูลหรือการสอนในวิชาต่าง
ๆ ร่วมกัน โดยเรียกว่า
โรงเรียนบนเว็บแผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive
Video)
แผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ
เป็นการผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และแผ่นวีดิทัศน์ในรูปของสื่อประสมที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ภาพนิ่ง
เสียง และตัวอักษร โดยมีการเรียกใช้ข้อมูลในลักษณะสื่อหลายมิติ
เพื่อใช้ในการฝึกอบรมและการเรียนการสอน โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในการศึกษารายบุคคลและการศึกษาแบบอิสระ
อุปกรณ์ที่ใช้ในแผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ
1. เครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์
เป็นเครื่องที่สามารถต่อเข้ากับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในการเล่นเชิงโต้ตอบระดับ 3
ได้
จอภาพ
เพื่อเสนอภาพจากเครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์ ปกติแล้วมักใช้เครื่องรับโทรทัศน์
เป็นจอภาพ
แต่อาจจะใช้จอมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์รับภาพและตัวอักษรก็ได้
ชุดไมโครคอมพิวเตอร์
ประกอบด้วยหน่วยประมวลผลกลบางที่ควรมีเนื้อที่แผ่น
บันทึกแบบแบ็งขนาดตั้งแต่ 100 เมกะไบต์ขึ้นไป
เครื่องเล่นซีดี-รอม
เพื่อเสนอข้อมูลและเนื้อหาบทเรียนจำนวนมากที่ไม่สามารถ
บรรจุลงในจานบันทึกของคอมพิวเตอร์ได้หมด
อุปกรณ์รับข้อมูล
เพื่อรับข้อมูลการตอบสนองของผู้เรียนในแต่ละขั้นตอนของบท
เรียนซึ่งอาจจะเป็นการตอบคำถามเป็นข้อความหรือการเลือกตอบก็ได้
เครื่องพิมพ์
เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หำหรับพิมพ์ผลการเรียน
หรือการตอบสนองของผู้เรียนออกมาบนกระดาษ
แนวโน้มของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ
ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
มีผลทำให้มีความเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมและเทคโนโลยีในระยะที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันพบว่าประเด็นที่น่าสนใจที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่าง
ๆ ก่อให้เกิดนวัตกรรมประเภทต่าง ๆ ได้ดัง
ต่อไปนี้
การรวมตัวของสื่อ เมื่อคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาท
ทำให้มีการนำสื่อเข้ามาใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ในลักษณะสื่อประสม เช่น การใช้แผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ การใช้แผ่นซีดี-รอมบันทึก
ข้อมูล เป็นต้น
สื่อขนาดเล็ก
สื่อหลายชนิดที่เป็นนวัตกรรมที่ใช้กันอยูในขณะนี้เป็นวัสดุและ
อุปกรณ์ที่มีใช้กันมานานแล้วแต่ในปัจจุบันได้อาศัยเทคโนโลยีช่วยในการคิดค้นและพัฒนาให้มีขนาดเล็ก
ลงและใช้ได้สะดวกขึ้น
เช่น กล้องถ่ายวีดิทัศน์ การผลิตแผ่นซีดี ฯลฯ
ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนอกจากจะมีนาดเล็กลงแล้ว
ยังมีสมรรถนะในการทำงานสูงกว่าเดิมมาก สามารถบรรจุเนื้อที่บันทึกข้อมูลได้มาก
ทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีราคาถูกลง ทำให้โรงเรียนต่าง ๆ
สามารถซื้อมาใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างทั่วถึง
ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
ปัจจุบันการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมทำให้ผู้เรียนใน
ซึกโลกหนึ่งสามารถเรียนรู้ไปได้พร้อมกับผู้เรียนอีกซีกโลกหนึ่ง
โดยที่ผุ้สอนและผู้เรียนไม่จำเป็นต้อง
อยู่สถานที่เดียวกันก็สามารถทำให้เกิดการเรียนการสอนร่วมกันได้โดยการสอนในลักษณะการประชุมทางไกลโดยวีดิทัศน์
(Video Teleconference)
อินเทอร์เน็ต และเวิร์ล ไวด์ เว็บ อินเทอร์เน็ตเป็นข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
มากครอบคลุมไปทั่วโลกและให้บริการแก่ผู้ใช้ได้หลายสิบล้านคนทั่วโลกในบริการต่าง
ๆ กัน
ทางด่วนสารสนเทศ
(Information Superhighway) เป็นพื้นฐานโครงสร้างสารสนเทศที่เป็นแนวคิดในการที่จะนำข่ายงานคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงเชื่อมโยงบ้าน
โรงเรียน และสถานที่ทำงานต่าง ๆ ด้วยการใช้สื่อที่สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
27 กันยายน 2555 เวลา 21:38
เป็นทางการนิดนึง แต่ก็สวยงามดี
ขนาดตัวหนังสือ อ่านง่าย แต่ควรเติมสีสันให้เยอะกว่านี้หน่อย
วีดีโอและภาพประกอบเนื้อหาควรใส่ให้มากกว่านี้หน่อย
27 กันยายน 2555 เวลา 22:57
- หัวบล็อกดูเก๋ไก๋ไปอีกแบบคะดูน่ารักดี
- รูปภาพและวีดีโอ ... มีน้อยเกินไปคะ
- หัวเรื่องสวยดีคะ ... แต่ต้องเน้นให้เข้มขึ้นกว่าเดิมจึงจะเด่นคะ
- เนื้อหา และองค์ประกอบตัวใหญ่อ่านออกคะ ..... แต่ยาวไปนิดหน่อยคะ
สรุปโดยรวม ... ดีคะน่ารักดี
28 กันยายน 2555 เวลา 02:57
-หัวบล็อกสวยดี แต่ตัวอักษรเล็กไปหน่อยค่ะ เทมเพจสวยและมีความคิดสร้างสรรค์ดี
-เนื้อหาดี แต่น่าจะเปลี่ยนสีบ้างเพื่อความสวยงามและน่าอ่านยิ่งขึ้น ตัวอักษรใหญ่ไปหน่อย
-รูปภาพ และคลิปวีดีโอ น่าจะมีประกอบกับเนื้อหาเพื่อทำให้บล็อกน่าสนใจยิ่งขึ้น
-องค์ประกอบด้านข้างยังมีน้อยไปค่ะ การลิ้งค์ยังไม่ค่อยสมบูรณ์ค่ะ
-โดยรวมก็สวยงามดีมีความคิดสร้างสรรค์ค่ะ
28 กันยายน 2555 เวลา 07:29
หัวบล็อกน่าสนใจดีค่ะ สวยดี มีลูกเล่นที่น่าสนใจ ส่วนตัวอักษรใหญ่ไปหน่อยค่ะ และสีของตัวอักษรน่าจะใช้สีที่แตกต่างกันจะได้มีจุดน่าสนใจเพิ่มขึ้นค่ะ องค์ประกอบของด้านข้างๆน้อยไปหน่อยนะค่ะ น่าจะเพิ่มลิ้งค์ที่เกี่ยวกับเนื้อหาเพิ่มค่ะ โดยรวมนะค่ะดีค่ะ สวยดี